ความรู้พื้นฐานเกี่ยวระบบจัดการฐานข้อมูล


วามรู้พื้นฐานเกี่ยวระบบจัดการฐานข้อมูล
ภาษา SQL (Structure Query Languages) คือ เป็นภาษาที่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลสำหรับแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational Database Model) มีพื้นฐานที่ผสมผสานกันระหว่าง Relational Algebra และ Relational Calculus
                                                                   
       ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง SQL ในการเพิ่มข้อมูลพนักงาน
INSERT INTO <ชื่อตาราง>(ฟิลด์1,ฟิลด์2,ฟิลด์3) VALUES(ข้อมูล1,ข้อมูล2ข้อมูล3);

          ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง SQL ในการแก้ไขข้อมูลพนักงาน
UPDATE <ชื่อตาราง> SET <ฟิลด์> = <ข้อมูล> WHERE <เงื่อนไข>;

          ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง SQL ในการลบข้อมูลพนักงาน
DELETE  FROM <ชื่อตาราง> WHERE <เงื่อนไข>;

          ยกตัวอย่างการใช้คำสั่ง SQL แสดงข้อมูลพนักงานแบบไม่มีเงื่อนไข และมีเงื่อนไข
                แบบไม่มีเงื่อนไข SELECT <ฟิลด์> FROM <ชื่อตาราง>;
          แบบมีเงื่อนไข SELECT * FORM<ตาราง> WHERE <ข้อมูล>;
ฐานข้อมูล คือ การจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ที่เดียวกัน เช่น ฐานข้อมูลทะเบียนนักศึกษา จะเก็บแฟ้มข้อมูล 
หลักสูตร คณะ อาจารย์ รายวิชา นักศึกษา การลงทะเบียน

ประโยชน์ของฐานข้อมูล
        1. จัดเก็บไว้ที่เดียวกัน ศูนย์กลาง ใช้ข้อมูลร่วมกัน
        2. ลดความซ้ำซ้อนในการเก็บข้อมูล (ไม่เก็บหลายที่)
        3. ข้อมูลมีความถูกต้อง
        4. มีความปลอดภัย
        5. มีการสำรองข้อมูลและการกู้คืน

อธิบายลำดับชั้นของการจัดเก็บข้อมูล (จากใหญ่ไปหาเล็ก)
        Database->Files->Records->Fields->Byte->Bit

ระบบจัดการฐานข้อมูล(DataBase Management System: DBMS) คือ ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรม สำหรับจัดเก็บ
ข้อมูล บริหารจัดการใช้ฐานข้อมูล
ตัวอย่าง เช่น MySQL,Ms Access, Oracle, Ms SQL SERVER, DB2, Informix

อธิบาย รูปภาพ

รีเลชัน (Relation) คือ ตาราง 2 มิติ ประกอบด้วย แถวและคอมลัมน์ ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

ตารางจากรูป คือ รีเลชันสาขากับรีเลชันพนักงาน คุณสมบัติ ข้อมูลในแต่บะแถวจะต้องไม่ซ้ำกันและ
ค่าAttribute จะเป็นค่าเดียวๆ

แอทริบิวต์(Attribute) คือ คอลัมน์ที่อยู่ในรีเลชันแต่ละแอททริบิวต์จะมีชื่อกำกับ แต่ละแอททริบิวติในรี
เลชัน ห้ามซ้ำกันในแต่ละรีเลชัน

จากรูปมีแอตทริบิวต์ รหัสสาขา ที่อยู่ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง เพศ 
วันเกิด เงินเดือน  

ทูเพิล(Tuple) ค่าของข้อมูลในแต่ละแถว (Row) หรือ ระเบียน (Record)
ตัวอย่าง  







โดเมน(Domain) คือ การกำหนดขอบเขตและชนิดของข้อมูล เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการป้อน
ข้อมูลในรีเลชัน

Candidate Key  คือ คีย์คูแข่ง เป็นAttributeหรือ Group of attribute ใน Relation ที่มีค่าไม่ซ้ำกันและใช้
ระบุค่าของ tuple ใน Relation เดียวกัน เมื่อมีการกระทำที่ใช้ค่าของกุญแจคู่แข่ง เพื่อเรียกใช้ข้อมูลใน 
Relation แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะปรากฏข้อมูลออกมาเพียง Tuple เดียว
ยกตัวอย่างจากรูป คือ ชื่อ นามสกุล

Primary Key  คือ คีย์หลัก Candidate Key ที่เหมาะสมจะถูกเลือกให้ทำหน้าที่เป็น Primary key การ
เลือก Primary Key  ในกรณีถ้า Relation นั้นมี Candidate Key มากกว่า 1 อัน ให้เลือกเอา Candidate 
Key ที่มีขนาดเล็กที่สุดและถูกเรียกใช้ด้วยการกระทำต่างๆ มากที่สุดมาเป็น Primary Key
ยกตัวอย่างจากรูป คือ รหัสสาขา รหัสพนักงาน

Alternate Key คือ คีย์สำรอง เป็นชื่อที่เรียกกุญแจคู่แข่ง(Candidate Key) ที่เหลือที่ไม่ได้ถูกเลือกให้
เป็น กุญแจหลัก(Primary Key)
ยกตัวอย่างจากรูป คือ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่

Composite Key คือ  คีย์รวม เป็นชื่อที่เรียก คีย์ต่างๆ ที่ประกอบด้วย แอททริบิวท์ มากกว่า 1 
แอททริบิวท์ เพื่อประกอบเป็นคีย์นั้น ๆ ว่า กุญแจรวม(Composite Key)
ยกตัวอย่างจากรูป คือ ชื่อ นามสกุล

 Foreign  Key  คือ คีย์นอก แอททริบิวท์ใดแอททริบิวท์หนึ่งในรีเลชันที่ใช้อ้างอิงไปยัง แอททริบิวท์ที่
ทำหน้าที่ เป็น กุญแจคู่แข่งของอีกรีเลชันหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กัน  
ยกตัวอย่างจากรูป คือ รหัสสาขา